วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สตาร์บัคส์

Starbucks

การเปลี่ยนแปลงโลโก้จะส่งผลต่อการตลาดระหว่างประเทศอย่างไร ?
  1. เป็นการเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งจากเดิมที่เน้นเฉพาะกลุ่มคนทำงาน ซึ่งยังขาดรายได้จากทางกลุ่มของวัยรุ่นที่มีรสนิยมในการบริโภคเครื่องดื่มในเเบรนด์ของสตาร์บัคส์ เช่น ชา อาหาร เป็นต้น
  2. เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรเรื่อยมา การเปลี่ยนแบรนด์ก็ได้รับการตอบรับที่ดีมาเสอม เนื่องจากการเปลี่ยนเเปลงโลโก้  เปรียบเสมือนการพัฒนาขององค์กร ผลิตภัณฑ์  เพื่อให้เข้ากับสังคมเเละตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคสมัยใหม่
  3. เป็นการส่งสัญญาณการเเข่งขันในตลาดต่างประเทศ เนื่องจากการเปลี่ยนเเปลงโลโก้ เเสดงให้เห็นถึงการเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายเเละพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการขยายสายผลิตภัณฑ์ เพื่อเเข่งขันในตลาด
  4. ในตลาดระหว่างประเทศแบรนด์ของสตาร์บัคส์ ได้เปรียบในหลายทางเนื่องจากผู้บริโภคคุ้นเคยกับตราสินค้านี้แล้วจนในปีปัจจุบันได้เปลี่ยนโดยใช้รูปนางเงือกสีเขียวอย่างเดียวโดยไม่มีตัวหนังสือแต่ผู้บริโภคก็คงยังรู้ว่านี้คือสตาร์บัคส์

กลยุทธ์ทางการตลาดระหว่างประเทศ (ฟูจิและเอ็มเค)

กลยุทธ์ทางการตลาดระหว่างประเทศ (Fuji/Mk)

ธุรกิจสามารถกำหนดกลยุทธ์ต่างๆ มากกว่า 1 กลยุทธ์
1. กลยุทธ์การสร้างตลาดหรือแย่งชิงส่วนตลาด (Build the market or steal market share) เพื่อให้บรรลุเป้าหมายยอดขาย เราจะใช้กลยุทธ์อย่างไร ระหว่างกลยุทธ์การสร้างตลาด และกลยุทธ์แย่งส่วนครองตลาด จากคู่แข่งขัน
2. กลยุทธ์ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และกลยุทธ์เฉพาะท้องถิ่น (National, Regional and Local Marketing Strategies) กลยุทธ์นี้จะช่วยให้กิจการตัดสินใจว่าจะใช้กลยุทธ์การตลาดระดับต่างๆ หรือจะใช้กลยุทธ์แบบผสมผสานระหว่างระดับชาติกับระดับท้องถิ่น
3. กลยุทธ์ฤดูการขาย (Seasonality Strategies) กิจการต้องตัดสินใจการใช้งบประมาณการตลาดและโฆษณาให้สอดคล้องกับช่วงการขาย ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงของปีด้วย
4. กลยุทธ์คู่แข่งขัน (Competitive Strategies) เมื่อเราพิจารณาแล้วเห็นว่า คู่แข่งขันโดยตรงของเรามีผลต่อขนาดส่วนครองตลาดที่ลดลง หรือคู่แข่งก้าวมารุกล้ำตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Unique Positioning) ของเราแล้ว เราต้องพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อการแข่งขันของเรา
5. กลยุทธ์เพื่อตลาดเป้าหมาย (Target Market Strategies) การกำหนดตลาดเป้าหมายอย่างชัดเจน เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักและกลุ่มเป้าหมายรอง ต้องมีการพิจารณาว่าจะเข้าถึงหรือมุ่งเน้นตลาดเป้าหมายเหล่านี้ได้อย่างไร
6. กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ (Product Strategies) จะมีการพิจารณากลยุทธ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ กลยุทธ์ทางการขยายสายผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และกลยุทธ์การเลิกผลิตภัณฑ์หรือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่อ่อนแอ การใช้กลยุทธ์เพื่อฟื้นผลิตภัณฑ์ หรือยืดอายุของสายผลิตภัณฑ์
7. กลยุทธ์ตรายี่ห้อ (Branding Strategies) ธุรกิจต้องทำการตัดสินใจเกี่ยวกับชื่อยี่ห้อ ตรายี่ห้อ เอกลักษณ์ของตัวสินค้า
8. กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์ (Packaging Strategies) การตัดสินใจรูปแบบบรรจุภัณฑ์และประเภทวัสดุของบรรจุภัณฑ์มักใช้กับสินค้าอุปโภคบริโภคที่พัฒนามาใหม่ หรือเมื่อมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสินค้าใหม่
9. กลยุทธ์ราคา (Pricing Strategies) เราต้องกำหนดว่าจะตั้งราคาแบบใด กลยุทธ์ราคาสูง หรือราคาที่สอดคล้องกับตลาดคู่แข่งขัน หรือตำแหน่งผลิตภัณฑ์ของสินค้านั้นหรือไม่
10. กลยุทธ์กระจายสินค้า และการครอบคลุมตลาด (Distribution of Product/ Coverage Strategies) การตัดสินใจมีความแตกต่างกัน ขึ้นกับประเภทของสินค้าว่าเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค หรือสินค้าองค์กร หรือสินค้าบริการ ต้องพิจารณาว่า จะวางจำหน่ายที่จุดใดจึงจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ด้วยรูปแบบของร้านค้า หรือจุดจำหน่าย
11. กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาด (Promotion Strategies) กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดต้องประสานกับแผนการตลาดโดยรวม และกำหนดแผนการส่งเสริมการตลาดที่เฉพาะเจาะจง
12. กลยุทธ์การใช้จ่ายทางการตลาด (Spending Strategies) กลยุทธ์นี้จะบอกรายละเอียดค่าใช้จ่ายทางการตลาดว่า มีการใช้อย่างไร เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดอะไรบ้าง ต้องการเพิ่มยอดขายตรายี่ห้อ ยอดขายของร้านค้าหรือยอดขายในเขตการขาย หรือใช้จ่ายไปเพื่อดึงดูดลูกค้าให้ๆ ให้มาลองใช้ การพิจารณาค่าใช้จ่ายโดยรวม จัดว่าเป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน ค่าใช้จ่ายที่อยู่ในแผนนั้น สอดคล้องกับตัวเลขค่าใช้จ่ายในอดีตอย่างไร เพิ่มขึ้นหรือลดลงด้วยเหตุผลอะไร รายละเอียดของค่าใช้จ่ายและงบประมาณจะปรากฎอยู่ในส่วนงบประมาณของแผนการตลาด
13. กลยุทธ์การใช้พนักงานขายและการปฏิบัติการของพนักงานขาย (Personal Selling / Operation Strategies) เมื่อพิจารณาว่าโครงสร้างการขายและการบริหารงานขายมีความเหมาะสมมากเพียงต่อแผนการตลาด
14. กลยุทธ์ข่าวสารที่สื่อทางโฆษณา (Advertising Message Strategies) นักการตลาดต้องทราบถึงจุดเน้นที่จะส่งข่าวสารไปยังผู้บริโภค และจะใช้โฆษณาเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการตลาดอย่างไร
15. กลยุทธ์การใช้สื่อโฆษณา การเลือกสื่อโฆษณามีความสำคัญยิ่ง เพราะจะเป็นทิศทางในการกำหนดกลยุทธ์การตลาดอื่นๆ เช่น กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ กลยุทธ์คู่แข่งขัน และกลยุทธ์การใช้จ่ายทางการตลาด

17. กลยุทธ์การให้ข่าวสาร (Publicity) เราต้องพิจารณาว่าการสื่อข่าวสารและการประชาสัมพันธ์นั้นมีความจำเป็นต่อกิจการของเราหรือไม่ ถ้าเป็นเรื่องจำเป็นควรกำหนดกลยุทธ์ดังกล่าวในแผนการตลาดด้วย
18. กลยุทธ์การวิจัยและพัฒนา (Research and Development ธุรกิจต่างๆ ล้วนต้องการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับยอดขายที่เพิ่มขึ้น การทำวิจัยและพัฒนาเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความสำเร็จทางธุรกิจ แม้ว่าจะต้องใช้การวางแผน การทดสอบ และการดำเนินงาน ตลอดจนเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่จะทำให้ธุรกิจเรายืนอยู่แถวหน้าในอุตสาหกรรมได้ และสามารถต่อสู้กับคู่แข่งขัน
19. กลยุทธ์การหาข้อมูลทางการตลาด (Marketing Research Strategies) ธุรกิจใช้วิจัยตลาดเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่เฉพาะทางการตลาดบางอย่าง ขณะเดียวกันมักจะช่วยเพิ่มยอดขายและบรรลุถึงวัตถุประสงค์อีกด้วย


ข้อมูลจาก : www.smile-sme.com

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

        เป็นการก้าวไปสู่เวทีเบียร์ระดับโลก ครั้งสำคัญของเบียร์สิงห์เบียร์ไทยเลยก็ว่าได้ สำหรับการทุ่มงบฯก้อนโตในการเป็นสปอนเซอร์ ทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด สโมสรยักษ์ใหญ่ในพรีเมียร์ลีก
และเพิ่งจดปากกาลงนามในสัญญาไปเมื่อ เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งนำทีมโดย "จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี" กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ บุญรอดบริวเวอรี่
ว่ากันว่างานนี้สิงห์ยอมควักกระเป๋าจ่ายไม่ต่ำกว่าปีละ 90-100 ล้านบาท
จากก่อนหน้านี้เบียร์สิงห์เป็นสปอนเซอร์โฆษณาและได้สิทธิ์ขายเบียร์ในสนามทีม แมนเชสเตอร์ซิตี้ เป็นระยะเวลา 3 ปี และเพิ่งหมดสัญญาในเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมาสอดคล้องกับที่ "ปิติ ภิรมย์ภักดี" ผู้จัดการกลุ่มการตลาด สิงห์ คอร์เปอเรชั่น เคยเปรย ๆ ไว้แล้วว่า เดือนกรกฎาคมนี้
เบียร์สิงห์จะไปเซ็นสัญญาเป็นสปอนเซอร์
ให้กับทีมฟุตบอลสโมสรดังในประเทศอังกฤษ ในเมืองแมนเชสเตอร์
"ฉัตรชัย วิรัตน์โยสินทร์" ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด สิงห์ ให้ข้อมูลว่า การเซ็นสัญญากับทีมปีศาจแดงครั้งนี้ ในฐานะ Manchester United The Global Partner และทำให้เบียร์สิงห์คือเบียร์เป็นทางการ (official beer) เพียงแบรนด์เดียวที่วางขายในสนามโอลด์แทรฟฟอร์ด
เป็นการเข้าไปแทนเบียร์แบรนด์ดังจากสหรัฐอเมริกา "บัดไวเซอร์" ที่เพิ่งหมดสัญญาลง
นอกจากเบียร์สิงห์ ยังมีสิทธิ์ที่จะโฆษณาโลโก้หรือสัญลักษณ์ของเบียร์สิงห์ในสนามด้วย
โดยสัญญาของพันธมิตรคู่นี้จะไปสิ้นสุดในปี ค.ศ. 2013 หรือ 3 ปี


      ก่อนหน้านี้ที่บุญรอดฯทำตลาดเบียร์สิงห์ไปขายในอังกฤษมานานกว่า 30 ปี ผ่าน ช่องทางร้านอาหารไทย ผับ และช่องทาง ค้าปลีกอีกหลาย ๆ แห่ง และมีการทำตลาดอย่างเต็มรูปแบบ
หรือในตลาดโลกที่ผ่านมา สิงห์ก็ได้ทยอยจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ สร้างแบรนด์มาระดับหนึ่ง ผ่านการออกงานแสดงอาหารและเครื่องดื่มรับนานาชาติ การเป็นผู้สนับสนุนการจัดงานเทศกาลอาหารไทย เทศกาลสงกรานต์ในต่างประเทศ ฯลฯ มาเป็นระยะ ๆ ควบคู่กับการขยายตลาดไปยังประเทศใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง
     ที่ผ่านมา "จุตินันท์" ให้ข้อมูลรายได้ ของเบียร์สิงห์ในต่างประเทศว่า มีสัดส่วนประมาณ 8% และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เป็นตัวเลขที่ไม่มากนัก และในระยะสั้น ๆ นี้ โดยส่วนตัวอยากเห็นตัวเลขรายได้จากการส่งออกอย่างน้อย ๆ 25%
ขณะที่แม่ทัพใหญ่ค่ายสิงห์ "สันติ ภิรมย์ภักดี" ให้โจทย์มาว่าอยากเป็นตัวเลข 30-40% เพื่อลดความเสี่ยงของตลาดเบียร์ในประเทศที่เริ่มมีข้อจำกัดและเติบโตไม่มาก
แหล่งข่าวจากบริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ระบุเพิ่มเติมว่า การเป็นสปอนเซอร์ทีมปีศาจแดงครั้งนี้ มีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่เรื่องของการโฆษณา ขณะที่ตัวเลขยอดขายเบียร์ในสนามเป็นประเด็นรอง  เนื่องจากทีมแมนฯ ยูไนเต็ด เป็นทีมใหญ่ที่มีแฟนคลับอยู่ทุกมุมโลก ขณะที่พรีเมียร์ลีกของอังกฤษก็เป็นลีกที่ได้รับความนิยมสูง และมีการถ่ายทอดสดการแข่งขันไปในหลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะในยุโรป ซึ่งจะเป็นการปูทางและสร้างการรับรู้แบรนด์เบียร์สิงห์ในเวทีโลกได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
        "นอกจากนี้เรายังจะมีกิจกรรมทางการตลาดอื่น ๆ ตามมาอีก และเป็น 3 ปีที่มีความหมายในการที่จะรุกตลาดต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในยุโรป, ยุโรปตะวันออก ที่เป็นตลาดที่มีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก รวมทั้งเอเชีย ซึ่งเป็นเป้าหมายใหม่ที่ให้น้ำหนักมากขึ้น"
        เมื่อเปิดฤดูการแข่งขัน 2010/2011 ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป โลโก้เบียร์สิงห์ก็จะปรากฏสู่สายตาแฟนบอลในสนาม และอีกหลาย ๆ ประเทศที่ถ่ายทอดสดการแข่งขันของทีมแมนฯ ยูไนเต็ด
รวมถึงประเทศไทย ซึ่งเวลานี้มีข้อจำกัด ในแง่ของการโฆษณา แต่ไม่ห้ามการโฆษณา ที่มีต้นตอมาจากต่างประเทศ
       การที่เบียร์สิงห์ถูกเลือกเป็นพันธมิตรกับสุดยอดทีมแห่งเกาะอังกฤษครั้งนี้ จึงน่าจะเป็น "แต้มต่อ" ทางการตลาดที่จะช่วยเชื่อมต่อมาถึงเบียร์สิงห์ได้ไม่ยากนัก
นี่เป็นเพียงทีมแรกในพรีเมียร์ลีกที่เพิ่งจดปากกาลงนามเท่านั้น เร็ว ๆ นี้อาจจะมีทีมที่ 2 ตามมา และรับรองว่าเป็นทีมดังและยิ่งใหญ่ไม่แพ้กัน
วิเคราะห์ swot
จุดแข็ง
1.การเป็นเบียร์ที่อยู่ในใจผู้บริโภคเป็นอันดับต้นๆ โดยติดอันดับ 1 ของ Top of Mind Brand ที่นิตยสาร BrandAge ทำวิจัยมาตลอด 4 ปี
2.เบียร์สิงห์ Classic Brand ที่อยู่คู่ตลาดเบียร์เมืองไทยมากว่า 70 ปีทำให้ตลาดในเมืองแมนเชสเตอร์ให้ความสนใจ
3.รสชาติของเบียร์สิงห์มีความ Classic 
4.ราคาของเบียร์สิงห์เมื่อเทียบกับเบียร์ยี่ห้ออื่นในตลาดโลกก็ถือว่าไม่แพง
จุดอ่อน 
1.ผู้บริโภครุ่นใหม่มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง
2.เบียร์สิงห์เลี่ยงที่จะเจอกับคู่ปรับที่เป็น Brand ระดับโลกไม่ได้โดยเฉพาะเบียร์ไทเกอร์ที่จะเข้ามาทาบรัศมี







วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างของ "การค้าระหว่างประเทศ (International trade)" กับ การตลาดระหว่างประเทศ (International marketing)"

ความแตกต่างของการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ มีดังนี้

ตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing)
        คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าจากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ (International trade)
      คือ การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่างๆกัน ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้ จึงจำเป็นต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง

 ความแตกต่างของการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ มีดังนี้ 
          การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing) เป็นการ ทำธุรกิจทางการตลาดระหว่างประเทศ และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าหรือบริการ โดยแสวงหารายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ  แต่การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากทรัพยากรที่แต่ละประเทศมีต่างกันออกไป ทำให้ประเทศที่มีทรัพยากรมากกว่าผลิตสินค้าที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ผลิตไม่ได้จึงกลายเป็นการค้าระหว่างประเทศ (International trade) ”

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศอังกฤษ

กีฬาที่นิยมในอังกฤษ
     ในหน้านี้กล่าวถึงกีฬายอดนิยมในอังกฤษ ดูวิธีมีส่วนร่วมในกีฬาต่อไปนี้ในสถานที่อื่นๆ ได้จากเว็บไซต์
    
ฟุตบอล
     ฟุตบอลจัดเป็นกีฬาประจำชาติของอังกฤษและสก๊อตแลนด์และเป็นความหลงใหลของชาวอังกฤษส่วนใหญ่  The English Barclays Premier  League จัดเป็นสโมสรที่ดีเยี่ยมที่สุดในโลก ขณะที่ the Scottish Premier League ประสบความสำเร็จสูง คนทั่วโลกให้การสนับสนุนคลับอังกฤษโด่งดังเช่น Manchester United, Liverpool, Arsenal, Chelseaขณะที่การแข่งขันบางนัดดึงดูดผู้ชมโทรทัศน์ทั่วโลกกว่าพันล้านคน
       
ดูเรื่องฟุตบอลในอังกฤษเพิ่มเติมได้ที่:
·         The Football Association
·         The Irish Football Association
คริกเก็ต 
     คริกเก็ตจัดเป็นกีฬาหลักในฤดูร้อนของอังกฤษและเล่นในหลายระดับนับแต่มาตรฐานหมู่บ้านไปจนถึงทีมชาติอังกฤษ การแข่งขันคริคเก็ตระดับนานาชาติได้รับความนิยมมากมายเช่นกัน ทีมอังกฤษเล่นที่บ้านในการแข่งขัน นัดทดสอบTest matches, นัดหนึ่งวันในระดับนานาชาติ one-day internationals และการแข่ง 20 นัด Twenty20 matches ทุกฤดูร้อนและออกแข่งทัวร์ในฤดูหนาว นัดเด่นคือการแข่งขัน Ashes-England against Australia ซึ่งทำการแข่งขันทุกๆ สองปี
ดูเรื่องการแข่งขันคริกเก็ตในประเทศอังกฤษได้จากเว็บไซต์ England and Wales Cricket Board ส่วนเว็บไซต์ Cricket Scotland มีข้อมูลเกมที่นั่น
ผู้ชื่นชมกีฬาคริกเก็ตควรดูเว็บไซต์ Cricinfo และดูส่วนของ BBC Sport Cricket
 

รักบี้
     รักบี้ยูเนียนและรักบี้ลีคแยกจากกันในปี 1895 เมื่อกลุ่มรักบี้ลีคทางเหนือของอังกฤษตัดสินใจให้ผู้เล่นเป็นมืออาชีพได้ การแข่งขันมีข้อแตกต่างกันสองข้อๆ ที่เห็นชัดที่สุดคือรักบี้ยูเนียนมีผู้เล่น 15 คน ขณะรักบี้ลีคมีผู้เล่น 13 คน ดูเรื่องกฎการเล่นรักบี้ยูเนียนและรักบี้ลีคได้จากเว็บไซต์ BBC Sport

          อังกฤษและรักบี้ยูเนียนซีกโลกเหนือกำลังเบ่งบาน คลับอังกฤษประสบความสำเร็จอย่างสูงในการแข่งขันชิงถ้วยรางวัลไฮเนเคน หรือที่รู้จักกันว่ายูโรเพียน คัพ(European Cup)  ส่วน The English Guinness Premiership และ Celtic League  ต่างมีการแข่งขันสูงและมีผู้ชมอย่างหนาแน่นตั๋วขายหมดทุกสัปดาห์ การแข่งขัน RBS Six Nations Championship ซึ่งเป็นที่รอคอยกันทุกเดือนมกราคมและเดือนกุมภาพันธ์จัดเป็นงานเด่นของฤดูกาลเช่นกัน ส่วนการแข่งขันรักบี้เวิร์ลด์คัพซึ่งจัดขึ้นทุกสี่ปีและอัฟริกาใต้เป็นผู้ได้รับชัยชนะไปในปี 2007 ซึ่งจัดเป็นงานยิ่งใหญ่ที่สุดในปฏิทินการแข่งขันรักบี้
        สโมสรรักบี้ยูเนียนส่วนใหญ่เล่นอยู่ทางเหนือของอังกฤษแม้แต่ซุปเปอร์ลีก รวมถึงทีมที่ตั้งอยู่ในเปอร์พิคนาน,ฝรั่งเศสและ ฮาร์เลย์ควินส์ ซึ่งอยู่ที่ลอนดอน อีกทั้งควรจับตาดูอังกฤษ,สก๊อตแลนด์และไอร์แลนด์ในการแข่งขันรักบี้ลีคเวิร์ลด์คัพ 2008

 

กอล์ฟ
       อังกฤษมีชื่อเสียงว่าเป็นถิ่นกอล์ฟและสนามชั้นยอดระดับโลกนับร้อยๆ แห่งรวมทั้งเซนต์แอนดรู, เว็นเวิร์ธ, เบลฟราย และ คาร์นูสตี้ ซึ่งจัดเป็นสนามชื่อดังที่สุดในโลกสี่แห่ง
การแข่งขันบริติชโอเพ่นจัดทุกเดือนกรกฏาคมในสนามหลากหลายในอังกฤษและจัดเป็นการแข่งขันชิงแชมเปี้ยนกอล์ฟที่เก่าแก่ที่สุด
การแข่งข้นพีจีเอยูโรเปียน ยังเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันที่สนามแห่งต่างๆในเวลาต่างๆของปี ดูกำหนดการแข่งขันดูได้จากเว็บไซต์พีจีเอ

การกรีฑา
     มีการแข่งขันกรีฑานานาชาติหลากหลาย รวมถึงลอนดอนมาราธอนและการชุมนุมลอนดอนกรังด์ปรีซ์ประจำปีที่จัดในอังกฤษทุกปี
กรีฑาจะมีบทบาทใหญ่ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคปี 2012 ด้วยเช่นกัน
ดูเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์กรีฑาอังกฤษ

 

แร็กเก็ต 
     เทนนิส แบดมินตันและสค็วอชเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในอังกฤษ เทนนิสอาจเป็นที่รู้จักมากที่สุดเพราะมีการแข่งขัน  เช่น
วิมเบอดัล และ the Stella Artois Championship ที่ควีนส์คลับซึ่งจัดเป็นงานสำคัญของทุกฤดูร้อน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์สมาคมลอนเทนนิส
         ผู้เล่นแบดมินตันชาวอังกฤษได้รับความสำเร็จอย่างสูงในปีหลังๆ เกมที่เด่นคือการที่เกล เอมส์ และนาธาน โรเบิร์ตสันชนะได้รับเหรียญเงินในการแข่งประเภทคู่ผสมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคปี 2004 การแข่งขันโยเน็กออลอิงแลนด์ที่เบอร์มิงแฮมซึ่งจัดขึ้นในเดือนมีนาคมและเป็นการแข่งขันยิ่งใหญ่สุดในปฏิทินการแข่งขันของชาวอังกฤษ
สค็วอชจัดเป็นกีฬาที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงอีกอย่างของอังกฤษโดยผู้เล่นเช่นเจมส์ วิลล์สทรอปและนิค แมททิวติดอันดับผู้เล่นชั้นนำของโลก ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์สค็วอชยูเค


กีฬาโอลิมปิค ลอนดอน 2012

      การแข่งขันกีฬาโอลิมปิคปี 2012 จะมีขึ้นที่ลอนดอนระหว่างวันที่ 27 กรกฏาคม ถึงวันที่ 12 สิงหาคม ตามด้วยการแข่งขันพาราลิมปิคเกมซึ่งจัดระหว่างวันที่ 29 สิงหาคม ถึงวันที่ 9 กันยายน 2012

ทำไมเป็นลอนดอน
       ในปี 2003 เมืองต่างๆ เก้าเมืองทั่วโลกได้ยื่นเสนอขอเป็นเจ้าภาพโอลิมปิค 2012  ในปี 2004 จำนวนเมืองได้ลดลงเหลือ 5 เมืองคือ ลอนดอน, แมดริด, มอสโคว์, นิวยอร์ค และปารีส หลังจากได้มีการประเมินผลโดยคณะกรรมการโอลิมปิคสากล แม้ว่าแมดริด และปารีสจะเป็นผู้แข่งขันที่น่าชนะมากที่สุด แต่ในที่สุดก็มีการประกาศในปี 2005 ลอนดอนเป็นผู้มีชัยเหนือผรั่งเศสเพียงเล็กน้อย
ชัยชนะของลอนดอนเป็นชับชนะที่ยิ่งใหญ่ทำให้ลอนดอนเป็นเมืองแรกที่เป็นเจ้าภาพโอลิมปิคถึงสามครั้ง การแข่งขันพาราลิมปิคในปี 2012 จะเป็นเกมส์ครั้งที่ 14 เพื่ออุทิศให้กับนักกีฬาผู้พิการทั้งร่างกายและบกพร่องทางปัญญา
การเตรียมการสำหรับการแข่งขันกีฬา
     นับแต่ได้รับชัยชนะในการเป็นผู้จัด ได้มีการจัดการหลายอย่างเพื่อให้มั่นใจได้ว่าโอลิมปิคในลอนดอนเป็นที่น่าประทับใจในเรื่องกีฬา, สังคม และวัฒนธรรม
คณะกรรมการและองค์กรต่างๆ
     องค์กรหลักสามรายเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลให้กีฬาดำเนินไปอย่างประสบความสำเร็จและทันเวลา
The London Organising Committee for the Olympic Games (LOCOG)เป็นผู้รับผิดชอบการวางแผนและการพัฒนาเกม คณะกรรมการชุดนี้มีประธานคือ Lord Coe ประธานของลอนดอน 2012
Olympic Delivery Authority (ODA) เป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลจัดสาธารณูปโภคต่างๆที่จำเป็นให้เสร็จทันก่อนการแข่งขันเกม
The Government Olympic Executive เป็นผู้ประสานงานการแข่งขันโอลิมปิค 2012 โดยอิงกับกระทรวงวัฒนธรรม สื่อและการกีฬา สาธารณูปโภค

การเงิน
     การก่อตั้งสถานที่โอลิมปิคและสาธารณูปโภคเบื้องต้นได้รับทุนสนับสนุนเงินจากภาคประชาชน (ได้มาจากภาษี)  ค่าใช้จ่ายในการแข่งขันประมาณการกว่า 9 พันล้านปอนด์  ส่วนกีฬานั้นจะได้รับเงินทุนจากหน่วยงานภาคเอกชนเป็นผู้อุปถัมภ์และจากการบริจาคอื่นๆ

 

สถานที่ 
     ลอนดอนกำลังได้รับการปรับปรุงโฉมใหม่เพื่อรองรับการแข่งขันโดยอาคารทั้งใหม่, เก่าอาคารประวัติศาสตร์, อาคารร่วมสมัยและคอมเพล็กซ์ต่างๆ จะถูกนำมาใช้เป็นสถานที่สำหรับการแข่งขัน
โอลิมปิคครั้งนี้
บริเวณเกรทเตอร์ลอนดอน จะทำการแบ่งเป็นสามโซน คือ
          โซนโอลิมปิค(The Olympic Zone)-จะมีการสร้างอุทยานโอลิมปิคที่สแตรตฟอร์ด,ลอนดอนตะวันออก ตรงบริเวณที่ดินเปล่าและที่ดินอุตสาหกรรม อุทยานนี้จะเป็นที่ตั้งของโอลิมปิค สเตเดียม ศูนย์กีฬาทางน้ำ Aquatics Centre และหมู่บ้านโอลิมปิค
·         โซนแม่น้ำ(The River Zone)ประกอบไปด้วยสถานที่ห้าแห่งริมแม่น้ำเทมส์ รวมทั้งสนาม 02และศูนย์นิทรรศการเอ็กเซล ExCel Exhibition Centre
·         โซนกลาง (The Central Zone) รวมสถานที่เช่น วิมบลีย์ สเตเดียมและไฮด์ปาร์ค  จะมีการจัดงานอื่นๆนอกลอนดอน เช่น การพายเรือและแล่นเรือใบซึ่งจะจัดที่เวย์เมาท์ ดอร์เซ็ทที่ชายฝั่งทะเลทางใต้ของลอนดอน
การขนส่งในลอนดอนมีประสิทธิภาพอยู่แล้วแต่ได้มีการเพิ่มมากขึ้น มีการขยายสาธารณูปโภคด้านการขนส่งของรถไฟใต้ดินสายตะวันออก และมีการยกระดับรถไฟด็อคแลนด์ได้มีการวางแผนสร้างรถไฟความเร็วสูงโอลิมปิค จาเวลิน ซึ่งสามารถขนส่งผู้โดยสารจาก St Pancras International ซึ่งเป็นที่ทำการของยูโรสตาร์ไปยังอุทยานโอลิมปิค  อุทยานและจุดขึ้นรถหลายแห่งสามารถทำได้ภายใน M25 (เขตเกรทเตอร์ลอนดอนและมอเตอร์เวย์) ด้วยยานพาหนะที่ลดการแพร่กระจายก๊าซคาร์บอน หุ้นส่วนหลักในการสร้างระบบขนส่งประกอบด้วยขนส่งลอนดอน, กระทรวงคมนาคม,และหน่วยงานทางหลวง

 
เครื่องหมายอย่างเป็นทางการสำหรับกีฬาโอลิมปิค
      เครื่องหมายอย่างเป็นทางการสำหรับกีฬาโอลิมปิค 2012 ได้รับการออกแบบโดยบริษัทที่ปรึกษาตราสินค้า วูล์ฟ โอลินส์(Wolff Olins)และมีการเปิดเผยให้ชมเมื่อเดือนมิถุนายน 2007 เครื่องหมายนี้มีหลากสีซึ่งเป็นเครื่องหมายสำหรับทั้งกีฬาโอลิมปิคและพาราลิมปิคเป็นครั้งแรก

กีฬาสีเขียว
     มีการวางแผนไว้เพื่อทำให้ลอนดอน 2012 เป็นเกมโอลิมปิคแบบยั่งยืน( Sustainable Olympic Games)  คณะกรรมาธิการสำหรับลอนดอนแบบยั่งยืน 2012 (The Commission for  Sunstainable London 2012) จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2007 เพื่อช่วยให้บรรลุเป้าหมายดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์เพื่อการยั่งยืนของลอนดอน 2012 คือ:
·         ลดการแพร่คาร์บอนระหว่างการพัฒนาอุทยานโอลิมปิคและสถานที่อื่นๆ
·         ผลิตของเสียให้น้อยที่สุดระหว่างการก่อสร้าง
·         ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด
·         ปรับปรุงและสนับสนุนการดำรงชีวิตเพื่อสุขภาพอันดี
·         ทำงานร่วมกับชุมชนทั้งในและนอกบริเวณโอลิมปิค ปาร์ค

กีฬาที่จัดการแข่งขันในโอลิมปิคครั้งนี้
      กีฬาโอลิมปิคจะมีการแข่งขันกีฬายี่สิบหกรายการเริ่มจากการยิงธนูถึงการกรีฑา ขณะที่พาราลิมปิคมีการแข่งขันยี่สิบรายการรวมถึงการเล่นฟุตบอลทีมละ 5 คน, เทนนิสบนเก้าอี้ล้อเข็น
             

http://ukinthailand.fco.gov.uk/th/visiting-uk/about-uk/sport/popular-sports

http://ukinthailand.fco.gov.uk/th/visiting-uk/about-uk/sport/london-2012-olympics/